เมนู

ดี มีโทษมาก. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุประณีต. อทินนาทานนั้น เมื่อ
วัตถุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้มีคุณน้อย ๆ กว่าผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ.

อทินนาทานนั้น มีองค์ 5 คือ


1. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน
2. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน
3. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก
4. อุปกฺกโม พยายามลัก
5. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น
อทินนาทานนั้น มี 6 ประโยค มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้นนั่นเอง.
และประโยคเหล่านี้แล เป็นไปด้วยอำนาจอวหารเหล่านี้ คือ
1. เถยยาวหาร ลักโดยการขโมย
2. ปสัยหาวหาร ลักโดยข่มขี่
3. ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน
4. ปริกัปปาวหาร ลักโดยกำหนดของ
5. กุสาวหาร ลักโดยสับสลาก
ตามควร. นี้เป็นความย่อในอธิการนี้ ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย.
พระสมณโคดม ชื่อว่า ทินนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้
เท่านั้น. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะต้องการแต่ของที่เขาให้เท่านั้น
แม้ด้วยจิต. ผู้ที่ชื่อว่าเถนะ เพราะลัก. ผู้ที่ไม่ใช่ขโมย ชื่อว่าอเถนะ.

พระสมณโคดมประพฤติคนเป็นคนสะอาดเพราะไม่เป็นขโมยนั่นเอง. บท
ว่า อตฺตนา คืออัตภาพ. มีอธิบายว่า กระทำคนไม่เป็นขโมย เป็นคน
สะอาดอยู่. คำที่เหลือพึงประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วในสิกขาบทที่หนึ่ง
นั่นแหละ. ทุกสิกขาบทก็เหมือนในสิกขาบทนี้.
บทว่า อพฺรหฺมจริยํ ความว่า ความพระพฤติไม่ประเสริฐ. ชื่อว่า
พรหมจารี เพราะประพฤติอาจาระอันประเสริฐที่สุด. ผู้ที่ไม่ใช่พรหมจารี
ชื่อว่า อพรหมจารี. บทว่า อาราจารี ความว่า ทรงพระพฤติไกลจากกรรม
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์. บทว่า เมถุนา ความว่า จากอสัทธรรมที่
นับว่า เมถุน เพราะบุคคลผู้ได้บัญญัติว่าเป็นคู่กัน เพราะเป็นเช่นเดียวกัน
ด้วยอำนาจความกลุ้มรุมแห่งราคะ พึงส้องเสพ. บทว่า คามธมฺมา ความ
ว่า เป็นธรรมของชาวบ้าน.
ในคำว่า มุสาวาทํ ปหาย นี้ คำว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือ
กายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.
ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อน
ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาด
เคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คำว่า
วาท ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่อง
จริง เรื่องแท้. ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้
ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย มีโทษมาก
เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า
ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยาน
กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาท
ที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้าน
ไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือ
เนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็น
แล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ 4 คือ


1. อตถํ วตฺถุํ เรื่องไม่แท้
2. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน
3. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาด-
เคลื่อนนั้น
4. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.
มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึง
เห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำ
กิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อม
ผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว. ก็เพราะ
เหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้ว
โยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึง
รู้อย่างนี้ ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วย
กายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวร-